วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

แนะนำตัว

นางสาวกาญจนา  แดงอิ่ม    581758091  

Section AE  เลขที่ 73


อาหารคาวและของหวานที่แนะนำ


ส่าบ่าเขือแจ้




แกงดอกผักปั๋ง






แกงอุ๊บไก่บ้าน


 ส้าบ่าแตงใส่น้ำปู๋




แกงผักเชียงดาใส่ปลาย่าง



เสงเผ่ ฮาละหว่า



เส่งเผ่ หรือขนมฮาละหว่ เป็นชื่อขนมหวานของชาวไทยใหญ่   มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด


กระบองจ่อ


กระบองจ่อมาจากภาษาพม่า หมายถึงฟักทองทอดโดยนำมาชุบแป้งก่อนทอด ลักษณะจะกรอบนอก สีเหลือง ใช้แป้งแปม้งซึ่งเป็นแป้งจากพม่าทำจากถั่วสีเหลืองอ่อน ปัจจุบันมีการนำผักชนิดอื่น เช่น มะละกอดิบ น้ำเต้า ถั่วงอก มาชุบแป้งทอด โดยน้ำจิ้มที่มีส่วนผสมของ น้ำมะขามเปียก น้ำอ้อยเคี่ยว เกลือ ถั่วลิสงป่น และกระเทียม มีรส เปรี้ยว หวาน มัน


ข้าวซอย ป้าตุ๋ย


ตุ๋ยข้าวซอย คือตำนานข้าวซอยของอำเภอแม่สอด...
ที่ชาวอำเภอแม่สอดกินมากว่า60ปีขายกันตั้งแต่ชามละ 25สตางค์ 50สตางค์
แล้วก็ไล่มาตั้งแต่ 3บาท 5 บาท 7บาท 10บาท
จนกระทั่งปัจจุบัน ราคามาอยู่ที่ชามละ 25 บาท
ไม่มีสาขา.. ทั่วทั้งแม่สอด มีเจ้าเดียวและก็ไม่คิดจะขยายสาขาใดๆๆทั้งสิ้น


โรตีโอ่ง





 


ประเพณีท้องถิ่น


แหล่ส่างลอง(แห่ลูกแก้ว)




แหล่เป็นคำภาษาไทยใหญ่ แปลว่า แห่ ส่วน ส่างลองคือ ลูกแก้ว หมายถึง ลูกหลานของชาวไทยใหญ่ แหล่ส่างล่องเป็นประเพณีการบวชเณรของชาวไทยใหญ่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนในช่วงปิดภาคการศึกษาในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่บวชเณรลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง 7 กัลป์ ถ้าบวชเณรลูกชายคนอื่นจะได้บุญ 4 กัลป์ และถ้าบวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญถึง 16 กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นพระภิกษุจะได้บุญถึง 8 กัลป์


 แล้อุปัตตะก่า (ตักบาตรตอนกลางวัน)



เป็นประเพณีของชาวไทยใหญ่ที่จัดขึ้นทุกวันโกนในช่วงเข้าพรรษา โดยคณะศรัทธาที่เป็นผู้ชายจะออกนำเครื่องหาบหามที่สามารถบรรจุปัจจัยต่างๆ ออกเดินรับสิ่งของที่ผู้มีจิตศรัทธาเพื่อส่งเสริมให้คนได้ทำบุญ

 ตานก๋วยสลาก


เป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้ตาย โดยการจัดของไทยทานบรรจุในชะลอมใบเล็ก ๆ ของ ไทยทานสานใหญ่เป็นพวกขนม ผลไม้ และของใช้ กระทำกันในเขตอำเภอซีกตะวันตกของจังหวัดตาก 5 อำเภอ บางส่วนกำหนดภายในเดือนสิบ (เดือนสิบสองเหนือคือก่อนออกพรรษา 1 เดือน)

งานฉลองเจ้าพ่อพะวอ



จะจัดขึ้นทุกๆปีระหว่างวันที่ 1- 10 ธันวาคม ชาวอำเภอแม่สอดจะจัดงานฉลองเจ้าพ่อพะวอ

กินข้าวใหม่ม้ง


 การสืบสานวัฒนธรรรมของชาวม้ง จะดำเนินการเป็นประจำทุกปี หลังการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้การทำนาข้าว ในปีต่อๆ ไปดี และมีผลผลิตผลงอกงามขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการดื่มเหล้าเขาวัวนั้นก็เพื่อให้ผู้ชายชาวม้งได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กันหลังฤดูเก็บเกี่ยวและข้าวใหม่เริ่มออก การกินข้าวใหม่จะมีกับข้าว เช่น  น่องไก่-หมู-เป็ด ประกอบการกินเพื่อเพิ่มความอร่อย จากนั้นก็จะมีการดื่มเหล้าเขาวัว ซึ่งการดื่มเหล้าเขาวัวนั้นตามประเพณีจะทำควบคู่กับกินข้าวใหม่ จะดื่ม 4 รอบ รอบแรกหมายถึงการร่วมโต๊ะ รอบสองเจ้าภาพแสดงการต้อนรับ รอบที่ื 3 เข้าสู่ประเพณี รอบที่ 4 หมายถึงการผูกสัมพันธ์ไมตรีอันลึกซึ้ง โดยเจ้าภาพจะเป็นผู้รินเหล้าให้แขกดื่ม

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และศิลปะวัฒนธรรม


  พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่






"พระธาตุหินกิ่ว ดอยดินจี่" ตั้งอยู่ที่บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ 5 ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก วัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ในสถูปเจดีย์ชาวบ้านเรียกว่า "พญาล่อง" ตั้งอยู่บนภูเขา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็ก สร้างไว้บนก้อนหินด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนชะง่อนผากิ่วคอดเหมือนจะขาดออกจากกัน ชาวบ้านเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า "เจดีย์หินพระอินทร์แขวน" 



     พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ เล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้สร้างเป็นชาวกะเหรี่ยงในสมัยที่อังกฤษปกครองพม่า ชื่อว่านายพะส่วยจาพอ ได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้นำเงินตราเหรียญรูปีบรรทุกหลังช้างมาเพื่อหาที่สำหรับสร้างเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้นมาถึงบริเวณผาหินกิ่ว (หรือดินจี่) ได้มองเห็นหินก้อนใหญ่ชะโงกงำตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชัน และมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระอินทร์แขวนในประเทศพม่า จึงได้ทำการก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำพระสารีสริกธาตุบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ พร้อมกับพระพุทธรูปทองคำจำนวน 5 องค์ 


       พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง มองลงมาข้างล่างจะเห็นแม่น้ำเมยและทิวทัศน์ในเขตประเทศพม่าชัดเจน เพราะอยู่ใกล้กัน หินที่อยู่บนดอยนี้มีลักษณะสีดำหรือสีนำตาลไหม้ จึงเรียกว่า "พระธาตุดอยดินจี่" ซึ่งหมายถึงดินที่ไฟไหม้ ในราวเดือนกุมภาพันธ์ ชาวอำเภอแม่สอด และพม่าจะมีงานนมัสการพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่นี้ทุกปี 


       นอกจากนี้บริเวณวัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ ยังมีสิ่งสำคัญคือ เรือโบราณพบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียน ได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินกี่ เป็นเรือที่ขุดจากไม้ซุงทั้งต้น ขนาดของเรือกว้าง 126 เมตร ยาว 13.35 เมตร สูง 0.52 เมตร หนา 0.04 เมตร ส่วนหัวเรือและท้ายเรือ มีความยาวเท่ากัน (ประมาณ 1.20 เมตร) ภายในเรือมีช่องสำหรับสอดไม้กระดานเพื่อทำเป็นที่นั่งจำนวน 4 ช่อง มีระยะห่างไม่เท่ากัน จากรูปและขนาดของเรือ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือที่ใช้ในการขนส่งอาหารหรือสินค้าระหว่างทั้งสองฝั่งแม่น้ำเมย มีอายุประมาณ 200 ปี 

         สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 7 อย่าง 

          1. พระพุทธรูปพระพักตร์งามภายในถ้ำฆ้องถ้ำกลอง เป็นพระพุทธรูปที่ใบหน้างามที่สุดในโลก สร้างแบบศิลปพม่า ประดิษฐานอยู่ในถ้ำฆ้องถ้ำกลอง ชื่อถ้ำมาจากเมื่อโยนหินไปในถ้ำ หินกระทบผนัง จะได้ยินเสียงคล้ายเสียงฆ้องและเสียงกลอง ถัดหลังองค์พระจะเป็นถ้ำพญานาค มีลักษณะใหญ่เรียวเป็นรูเล็กลงจนกระทั่งมุดตามเข้าไปไม่ได้ ลักษณะของถ้ำพญานาคก็คือ มีน้ำซึมไหลออกตลอดปี เพราะนาคขาดน้ำไม่ได้ หากจะเข้าถ้ำพญานาค ควรมีไฟฉายมาด้วย เมื่อเดินขึ้นมานมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นี่ จะต้องเดินผ่านถ้ำฆ้องถ้ำกลองก่อน ความสูงนับระยะทางเป็นบันไดได้ 283 ขั้น 

           2. พระธาตุหินกิ่ว (พระธาตุหินพระอินทร์แขวน) ตั้งอยู่เชิงหน้าผา ห่างจากถ้ำฆ้องถ้ำกลองมาทางด้านซ้ายมือประมาณ 300 เมตร ความสูงอยู่ประมาณกึ่งกลางของดอยดินจี่ พระธาตุจะประดิษฐานอยู่บนหินกิ่วที่มีลักษณะคล้ายกับพระธาตุอินทร์แขวนที่ประเทศพม่า ข้าง ๆ องค์พระเจดีย์จะมีรูปปั้นเทพารักษ์หลายองค์ศิลปะแบบพม่าและไทยใหญ่ ใกล้ ๆ กับพระธาตุจะมีศาลาให้พุทธศาสนิกชนพักเหนื่อยและสำหรับสวดมนต์ 

            3. เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่เกือบชั้นบนสุดของยอดดอย ระยะความสูงจากด้านล่างนับเป็นขั้นบันไดได้ 413 ขั้น แต่ถ้าเดินจากถ้ำฆ้องถ้ำกลองก็เดินอีกแค่ 130 ขั้นเท่านั้น ภายในเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของมีค่า เงินรูปี เหรียญตรา และพระพุทธรูปทองคำ 5 องค์ ที่ผู้สร้างนำติดตัวมาจากประเทศพม่า ต่ำลงมาอีกนิดจะเป็นรอยเท้าคนมีบุญหรือรอยเท้าพระอรหันต์ 

             4. รอยเท้าพระอรหันต์ หรือรอยเท้าคนมีบุญ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรอยเท้าพระอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่งมาประทับเอาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังสักการะบูชา เพราะคนธรรมดาจะไม่สามารถเหยียบหินแล้วให้เป็นรอยแบบนี้ได้ ในปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างตู้กระจกครอบรอยเท้าเอาไว้แล้ว เพื่อป้องกันการชำรุด 

              5. พระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ระหว่างทางขึ้นดอย ด้านหน้าองค์พระเป็นบันไดนาคราช 2 ตัวทอดยาวต้อนรับผู้ที่จะเดินขึ้นมานมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้านขวามือขององค์พระเป็นรูปปั้นคนสร้างพระธาตุนี้ขี่ม้าคือนายพะส่วยจาพอ 

               6. เมืองลับแล ถัดจากรอยเท้าพระอรหันต์และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุมาที่จุดสูงสุดของดอย จะเป็นปากทางเข้าเมืองลับแล บรรยากาศและต้นไม้จะแปลก ๆ ไม่เหมือนป่าทั่วไป ผู้มีสัมผัสที่ 6 (Sixth Sence) จะรู้ได้ การขึ้นมาทำบุญสิ้นสุดเพียงเท่านี้ เพราะถัดจากนี้ไปจะเข้าสู่เขตเมืองลับแล ไปแล้วอาจไม่ได้กลับมา 

                7. เรือโบราณ 200 ปี เรือลำนี้ในอดีตแล่นอยู่ในแม่น้ำเมย รับส่งสินค้าแก่ประชาชนสองฟากฝั่ง ต่อมาในระหว่างสงครามถูกทำให้จมน้ำเพื่อซ่อนไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามใช้ประโยชน์ ด้วยความหวังว่าเมื่อผ่านสงครามแล้วจะกู้ขึ้นมาอีก แต่โชคร้ายคนเหล่านั้นตายหมด เรือก็เลยจมน้ำมานับร้อยปี แต่เรือทุกลำก็มีแม่ย่านางอยู่ เมื่อถึงเวลาอันสมควร แม่ย่านางก็ไปดลใจให้คนไปพบและกู้ขึ้นมา ปัจจุบันชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเรือลำนี้เหมือนเดิมแล้ว 




ข้อมูลโดย : สำนักงานจังหวัดตาก ศาลากลางจังหวัดตาก 

อ.เมือง จ.ตาก 63000


ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช





ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ตรงข้ามสนามกีฬาเทศบาลแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2545  อยู่ติดกับอุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทีปังกรรัศมีโชติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ครั้นเมื่อพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแกลง ประเทศสหภาพเมียนมาร์ โดยเสด็จผ่านด่านแม่ละเมา อ.แม่สอดเป็นแห่งแรก ภายในบริเวณศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรูปปั้นช้างศึกของพระนเรศวรขนาดเท่าของจริง อยู่ภายในสวนที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ด้านหน้าศาลยังมีรูปปั้นไก่ชนจำนวนมากที่ประชาชนนำมาแก้บน ทำให้ดูแล้วน่าเลื่อมใส ใครที่เดินทางไปมาอำเภอแม่สอดให้ทำการสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเดินทาง



ศาลเจ้าพ่อพะวอ






ตั้งอยู่บนเนินเขาพะวอบนถนนสายตาก-แม่สอดบริเวณกม.ที่ ๖๒-๖๓ ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือตากและแม่สอดมาก เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวรทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา เพื่อคอยป้องข้าศึกมิให้ข้ามเข้ามาได้ เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวออยู่อีกด้านหนึ่งของเขา แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่างๆ เช่นรถเสีย เจ็บป่วย หรือหลงทางและเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบจึงชอบเสียงปืน ผู้ที่เดินทางผ่านนิยมยิงปืนถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ หรือมิฉะนั้นก็จะจุดประทัดหรือบีบแตรรถถวาย




วัดโพธิคุณ(วัดห้วยเตย)




วัดโพธิคุณ  หรือ วัดห้วยเตย” อีกหนึ่งวัดที่ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ สำคัญของตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ริมทางหลวงหมายเลข 105 โดยวัดนั้นตั้งอยู่ใกล้ถนนสายเอเซียตาก-แม่สอด หลักกิโลเมตรที่ 69 อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่สอด 11 กิโลเมตรและห่างจาก เนินพิศวงประมาณ 500 เมตร วัดแห่งนี้เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดป่า) บรรยากาศในวัดนั้นร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ภายในวัดออกแบบและจัดวางผัง สภาพภูมิทัศน์ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่งดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างตกแต่งตลอดจนการปั้นพระพุทธรูป โดยคุณสมประสงค์ชาวนาไร่ ศิลปบัณฑิตจากวิทยาลัยครูอุบลราชธานีและมหาบัณฑิตทางด้านโบราณคดีมหาวิทยาลัย ศิลปากร ผู้ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลป์อันวิจิตรมามากมายทั้งประติมากรรมและจิตรกรรม โดยเฉพาะอาคารอุโบสถของวัดแห่งนี้นั้นท่านได้อุทิศชีวิตและจิตใจในการก่อสร้างนานกว่า 18 ปี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยไม่ขอรับค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น




วัดไทยสามัคคี (วัดหลวงพ่อทันใจ)


วัดไทยสามัคคีเดิมชื่อว่า วัดเหนือ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัดอยู่ต้นน้ำลำห้วยแม่กื้ดหลวง ซึ่งชาวบ้านเรียกเหนือน้ำ ตั้งอยู่ ณ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ 9 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ โดยมีท่านพระครูอุทัย เจ้าคณะตำบลแม่สอด วัดดอนไชย มาเป็นองค์ประธานในการก่อสร้าง ซึ่งได้รับการถวายที่ดินจาก นายอ้าย หิรัญรัตน์ และ นายจักร แผ่กาษา (ได้บวชเป็นพระและมรณภาพในร่มผ้าเหลืองทั้ง 2 รูป) โดยทำการก่อสร้างกุฏิขึ้นมา 1 หลังพอเป็นที่อยู่อาศัยขอพระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจในครั้งนั้น


นอกจากวัดไทยสามัคคีจะมีองค์หลวงพ่อทันใจหรือพระเจ้าทันใจรัตนมุงเมืองยังมีสถานที่ที่ควรแก่การเคารพบูชาอีกมากมายเช่น รอยพระพุทธบาทจำลองที่มีอายุถึง 200 กว่าปีโดยนำมาจากประเทศพม่าโดยแผ่นรอยพระพุทธบาทนั้นทำมาจากหินที่แกะสลักขึ้นมาถัดจากนั้นยังมีพระพุทธรูปางประสูติที่มีความสูง 9 เมตร นำรูปแบบมาจากประเทศอินเดีย นอกจากที่กล่าวมานี้ ทางวัดไทยสามัคคียังมีสถานที่ที่น่าสนใจหรือให้ได้เที่ยวชมอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นศาลาพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงไม้แกะสลักและของเก่าหายากเป็นจำนวนมากโดยทางวัดได้เปิดให้เที่ยวชมได้ทุกวัน เมื่อเที่ยวชมบริเวณวัดจนรอบ ทางวัดยังมีโรงทานจัดไว้ให้กับผู้ที่เข้ามาทำบุญหรือเที่ยวชมได้รับประทานกันและยังมีบริการ น้ำชา กาแฟ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกด้วย


ธรรมชาติ


บ่อน้ำพุร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษา




น้ำพุร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษา
การเดินทางไปยังน้ำพุร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษานั้น ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 (แม่สอด-แม่ระมาด) แยกขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 13 ผ่านหมู่บ้านแม่กาษาถึงน้ำพุร้อนและถ้ำแม่อุษา จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก ประมาณ 2 กิโลเมตร
   
ถ้ำแห่งนี้เปิดให้ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา และ มีการสร้างบันไดเพื่อเดินขึ้นเขาระยะทางประมาร 500 เมตร และ มีบันไดประมาณ 870 ขั้น ภายในถ้ำจะมีไฟฟ้าต่อเข้าไปในถ้ำ ถึงมีไฟฟ้าไม่มาก แต่ก็ช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชม และมองเห็นความสวยงามภายในถ้ำได้บ้าง
   
ถ้ำแม่อุษาเป็นถ้ำขนาดใหญ่ การเดินทางเข้าไปชมถ้ำจะต้องเดินลุยไปตามลำห้วยแม่อุสุ ช่วงฤดูฝนเข้าชมถ้ำไม่ได้เนื่องจากระดับน้ำในลำธารสูงมาก ภายในถ้ำกว้างใหญ่ เพดานสูง อากาศโปร่ง มีหินงอก หินย้อยรูปร่างต่าง ๆ แปลกตาสวยงามมาก มีห้องโถงถึง 13 ห้องที่มีทางเดินถึงกันได้ทุกห้อง ภายในอากาศโปร่งเย็นสบายไม่อับและเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวนับล้านตัว ใช้เวลาเดินชมความงดงามภายในถ้ำประมาณ 3 ชั่วโมง  

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ




น้ำตกพาเจริญ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ เป็นน้ำตกหินปูนที่สวยงามด้วยชั้นน้ำตกที่ไหล ลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อยจำนวนมาก นัก มีน้ำตลอดปี มีถึง 97 ชั้น และตั้งอยู่ริมทางหลวงไม่ไกลจาก เมืองแม่สอด จึงเป็นจุดที่นิยมแวะมาท่องเที่ยวและพักผ่อน อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใน อำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประกอบไปด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์พื้นที่เป็น ภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็น แหล่งต้นน้ำลำธาร และยังเป็นต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา  ชื่อของน้ำตกตั้งตามชื่อของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นผู้พบน้ำตกคนแรกนามว่า สหายพา ต่อมาชาวบ้านเข้ามาอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ จนเกิดเป็นชุมชนที่เจริญขึ้น จึงต่อคำว่าเจริญท้ายชื่อน้ำตกเป็นน้ำตกพาเจริญ นอกจากนี้ยังมีเรียกน้ำตกนี้อีก ชื่อหนึ่งว่า น้ำตกร่มเกล้า 97 ชั้น



สภาพภูมิศาสตร์


ที่ตั้งและอาณาเขต

แม่สอดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 42 ลิปดา 47 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 34 ลิปดา 29 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล116.2 เมตร ณ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สอด อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดตาก รองจากอำเภออุ้มผาง และอำเภอสามเงา
อำเภอแม่สอดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นในประเทศไทย 3 อำเภอ และ 1 รัฐในประเทศพม่า ดังนี้
  • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
  • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอพบพระ จังหวัดตาก
  • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โดยมีเทือเขาถนนธงชัยเป็นแนวกั้นเขต
  • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า โดยมีแม่น้ำเมยเป็นกั้นพรมแดน                                 

    ลักษณะภูมิประเทศ

    อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.11 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406,650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อนสลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่อำเภอ และประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ปกครองไปด้วยป่าโปร่งป่าดงดิบและป่าสน ภูเขาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่ต่อลงมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ทอดผ่านจังหวัดตากและอำเภอแม่สอด ลงไปจนเชื่อมต่อกับทิวเขาตะนาวศรีจังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมยซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า
    สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอแม่สอด ตั้งอยู่ในภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศไทยประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นทิวเขาถนนธงชัยสูงสลับซับซ้อนเป็นตัวแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตากตะวันออก คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า ส่วนฝั่งตากตะวันตก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง
    ส่วนที่เป็นที่ราบต่ำถึงเป็นลอนลาด มีความสูงอยู่ระหว่าง 80-200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 16 ของจังหวัด บริเวณที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชันมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-300 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 10.5 ของจังหวัด
    พื้นที่ที่เหลือเป็นเนินเขาเตี้ยไปจนถึงภูเขาสูง ซึ่งในกลุ่มนี้ มีพื้นที่ที่มีความสูงระหว่าง 300-700 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ร้อยละ 34.8 ของจังหวัด และมีความสูงมากกว่า 700-2,200 เมตร อยู่ร้อยละ 38.4 ของจังหวัด ยอดเขาสูงสุดทางตะวันออกของอำเภอท่าสองยางที่เคยวัดได้ มีความสูง 1,752 เมตร และยอดเขาสูงสุด ทางตะวันออกของอำเภออุ้มผางที่เคยวัดได้มีความสูง 1,898 เมตรจากระดับน้ำทะเล
    มีพื้นที่การเกษตร 346,116 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,390,494 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย 27,6701 ไร่                               

    ลักษณะภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา                                                                                 อำเภอแม่สอดมีสภาพภูมิประเทศ มีเทือกเขาถนนธงชัยเป็นตัวปะทะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน จึงรับอิทธิพลจากลมมรสุมมากกว่าจังหวัดตากฝั่งตะวันออกทำให้ปริมาณฝนตก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ในเขตภูเขา เช่นนี้อากาศจะหนาวเย็นมาก                                                                                                                  

    การค้าขายชายแดนไทย-พม่า


    ตลาดริมเมย
    มูลค้าการค้าขาย: ภาพรวมเศรษฐกิจของ อ.แม่สอด เติบโตเฉลี่ย 20% ทุกปี ถือเป็นการค้าชายแดนที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดทางภาคเหนือของไทย โดยมูลค่าส่งออก ปี 2554 มูลค่า 2.1 หมื่นล้านบาท ปี 2555 มูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท ปี 2556 มูลค่า 4.3 หมื่นล้านบาท และปี 2557 เฉพาะแค่เดือน ม.ค.-ก.พ. ยอดถึง 8.6 พันล้านบาท คาดสิ้นปีมูลค่าจะถึง 5 หมื่นล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ น้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ
    ส่วนการนำเข้าสูงขึ้นเช่นกัน ปี 2554 มูลค่า 8 พันล้านบาท ปี 2555 มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท ปี 2556 มูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ สินค้าเกษตร เป็นต้น
  •   

ประวัติ

การตั้งถิ่นฐาน   



        แม่สอดเป็นเมืองอยู่ทางซีกตะวันตกของแม่น้ำปิง ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404-2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพะหน่อแก" ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือได้แก่ชาวอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (ชาวอำเภอเถินยังอพยพไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยอีกด้วย) พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอแม่สอด ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

แม่สอดเป็นเมืองในหุบเขาตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบแม่สอด โดยเมื่อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้วเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลหอยชนิดแอมโมไนต์ แอ่งที่ราบแม่สอดมีภูเขาล้อมรอบเหมือนอยู่ในก้นกระทะ แอ่งที่ราบมีลักษณะเป็นแนวยาว มีแม่น้ำเมยไหลผ่านทางยาวไปตามแนวเขา และมีลักษณะทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมายทั้งตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอดและบนสองฝั่งตามแนวยาวของแม่น้ำเมย อย่างไรก็ดี แม่สอดมิใช่เมืองเดียวโดดเดี่ยวในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังมีอีกหลายเมืองที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเมย ทั้งพบพระ แม่สอด เมียวดี แม่ระมาด และท่าสองยาง
ตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอด ทั้งที่ดอยมะขามป้อมหนึ่งและสอง ดอยสระกุลี ดอยมณฑา และดอยส้มป่อย บนเส้นทางสายแม่สอด-ตาก มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากพอสมควร ทั้งเครื่องใช้ไม้สอยและอาวุธ สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพของไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา
กรุโบราณซึ่งพบที่บ้านพบพระ ก็เป็นแหล่งโบราณคดีอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญ วัตถุโบราณที่พบมีทั้งเครื่องไม้ใช้สอย ทั้งอาวุธและเครื่องประดับสำริด สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยจากจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-4

สมัยประวัติศาสตร์

อำเภอแม่สอดเป็นอำเภอที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ เป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองนี้แล้วถึง 3 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกอบอิสรภาพ ณ เมืองแครงและยกทับกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากและเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่าครั้งที่ 2
ในสมัยสุโขทัย มีซากเมืองโบราณอีกหลายแห่งบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมย ทั้งในตัวเมืองแม่สอดและในเมียวดีฝั่งพม่า ที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลสามหมื่นในอำเภอแม่ระมาด แต่ละแห่งที่พบนั้นสร้างขึ้นต่างยุคกัน บางแห่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย คำว่า เมืองฉอด ก็ปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยเช่นกัน มีการกล่าวถึง เมืองฉอด ในศิลาจารึกหลายหลัก อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง ศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ 1 และ 2 แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์แน่นอนได้ว่า เมืองฉอดอยู่ที่ไหนในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังจะต้องอาศัยการสำรวจเพิ่มเติม ที่ว่า เมืองฉอดคือแม่สอดนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น
สำหรับความเป็นมาของชื่อนั้น สันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย[ต้องการอ้างอิง] ประการแรก กล่าวกันว่า แม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ตั้งประชิดชายแดนอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอด ส่วนอีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจมาจากคำว่า "เหม่ช็อค" ในภาษามอญซึ่งแปลว่าพม่าตาย[ต้องการอ้างอิง]