วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีท้องถิ่น


แหล่ส่างลอง(แห่ลูกแก้ว)




แหล่เป็นคำภาษาไทยใหญ่ แปลว่า แห่ ส่วน ส่างลองคือ ลูกแก้ว หมายถึง ลูกหลานของชาวไทยใหญ่ แหล่ส่างล่องเป็นประเพณีการบวชเณรของชาวไทยใหญ่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนในช่วงปิดภาคการศึกษาในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่บวชเณรลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง 7 กัลป์ ถ้าบวชเณรลูกชายคนอื่นจะได้บุญ 4 กัลป์ และถ้าบวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญถึง 16 กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นพระภิกษุจะได้บุญถึง 8 กัลป์


 แล้อุปัตตะก่า (ตักบาตรตอนกลางวัน)



เป็นประเพณีของชาวไทยใหญ่ที่จัดขึ้นทุกวันโกนในช่วงเข้าพรรษา โดยคณะศรัทธาที่เป็นผู้ชายจะออกนำเครื่องหาบหามที่สามารถบรรจุปัจจัยต่างๆ ออกเดินรับสิ่งของที่ผู้มีจิตศรัทธาเพื่อส่งเสริมให้คนได้ทำบุญ

 ตานก๋วยสลาก


เป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้ตาย โดยการจัดของไทยทานบรรจุในชะลอมใบเล็ก ๆ ของ ไทยทานสานใหญ่เป็นพวกขนม ผลไม้ และของใช้ กระทำกันในเขตอำเภอซีกตะวันตกของจังหวัดตาก 5 อำเภอ บางส่วนกำหนดภายในเดือนสิบ (เดือนสิบสองเหนือคือก่อนออกพรรษา 1 เดือน)

งานฉลองเจ้าพ่อพะวอ



จะจัดขึ้นทุกๆปีระหว่างวันที่ 1- 10 ธันวาคม ชาวอำเภอแม่สอดจะจัดงานฉลองเจ้าพ่อพะวอ

กินข้าวใหม่ม้ง


 การสืบสานวัฒนธรรรมของชาวม้ง จะดำเนินการเป็นประจำทุกปี หลังการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้การทำนาข้าว ในปีต่อๆ ไปดี และมีผลผลิตผลงอกงามขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการดื่มเหล้าเขาวัวนั้นก็เพื่อให้ผู้ชายชาวม้งได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กันหลังฤดูเก็บเกี่ยวและข้าวใหม่เริ่มออก การกินข้าวใหม่จะมีกับข้าว เช่น  น่องไก่-หมู-เป็ด ประกอบการกินเพื่อเพิ่มความอร่อย จากนั้นก็จะมีการดื่มเหล้าเขาวัว ซึ่งการดื่มเหล้าเขาวัวนั้นตามประเพณีจะทำควบคู่กับกินข้าวใหม่ จะดื่ม 4 รอบ รอบแรกหมายถึงการร่วมโต๊ะ รอบสองเจ้าภาพแสดงการต้อนรับ รอบที่ื 3 เข้าสู่ประเพณี รอบที่ 4 หมายถึงการผูกสัมพันธ์ไมตรีอันลึกซึ้ง โดยเจ้าภาพจะเป็นผู้รินเหล้าให้แขกดื่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น