วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ

การตั้งถิ่นฐาน   



        แม่สอดเป็นเมืองอยู่ทางซีกตะวันตกของแม่น้ำปิง ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404-2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพะหน่อแก" ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือได้แก่ชาวอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (ชาวอำเภอเถินยังอพยพไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยอีกด้วย) พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอแม่สอด ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

แม่สอดเป็นเมืองในหุบเขาตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบแม่สอด โดยเมื่อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้วเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลหอยชนิดแอมโมไนต์ แอ่งที่ราบแม่สอดมีภูเขาล้อมรอบเหมือนอยู่ในก้นกระทะ แอ่งที่ราบมีลักษณะเป็นแนวยาว มีแม่น้ำเมยไหลผ่านทางยาวไปตามแนวเขา และมีลักษณะทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมายทั้งตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอดและบนสองฝั่งตามแนวยาวของแม่น้ำเมย อย่างไรก็ดี แม่สอดมิใช่เมืองเดียวโดดเดี่ยวในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังมีอีกหลายเมืองที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเมย ทั้งพบพระ แม่สอด เมียวดี แม่ระมาด และท่าสองยาง
ตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอด ทั้งที่ดอยมะขามป้อมหนึ่งและสอง ดอยสระกุลี ดอยมณฑา และดอยส้มป่อย บนเส้นทางสายแม่สอด-ตาก มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากพอสมควร ทั้งเครื่องใช้ไม้สอยและอาวุธ สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพของไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา
กรุโบราณซึ่งพบที่บ้านพบพระ ก็เป็นแหล่งโบราณคดีอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญ วัตถุโบราณที่พบมีทั้งเครื่องไม้ใช้สอย ทั้งอาวุธและเครื่องประดับสำริด สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยจากจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-4

สมัยประวัติศาสตร์

อำเภอแม่สอดเป็นอำเภอที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ เป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองนี้แล้วถึง 3 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกอบอิสรภาพ ณ เมืองแครงและยกทับกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากและเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่าครั้งที่ 2
ในสมัยสุโขทัย มีซากเมืองโบราณอีกหลายแห่งบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมย ทั้งในตัวเมืองแม่สอดและในเมียวดีฝั่งพม่า ที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลสามหมื่นในอำเภอแม่ระมาด แต่ละแห่งที่พบนั้นสร้างขึ้นต่างยุคกัน บางแห่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย คำว่า เมืองฉอด ก็ปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยเช่นกัน มีการกล่าวถึง เมืองฉอด ในศิลาจารึกหลายหลัก อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง ศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ 1 และ 2 แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์แน่นอนได้ว่า เมืองฉอดอยู่ที่ไหนในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังจะต้องอาศัยการสำรวจเพิ่มเติม ที่ว่า เมืองฉอดคือแม่สอดนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น
สำหรับความเป็นมาของชื่อนั้น สันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย[ต้องการอ้างอิง] ประการแรก กล่าวกันว่า แม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ตั้งประชิดชายแดนอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอด ส่วนอีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจมาจากคำว่า "เหม่ช็อค" ในภาษามอญซึ่งแปลว่าพม่าตาย[ต้องการอ้างอิง]






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น